หลักการและเหตุผล

เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและความต้องการของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่

  • มาตรฐานด้านคุณภาพระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการตลาดและการสื่อสารการตลาด เรียนรู้และพัฒนาตนเอง กอร์ปกับประยุกต์ใช้ศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้สามารถแข่งขันในระดับสากล
  • จัดการหลักสูตรตามหลักธรรมาภิบาลและพันธกิจของการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยสยามในระดับดุลยภาพด้านความหลากหลาย ระบบประกันคุณภาพหลักสูตร ทรัพยากร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อิสระทางวิชาการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • การวิจัยเพื่อสร้าง บุกเบิก และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่างประเทศผสมผสานในระดับสากล

วิธีการคัดเลือกและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

การคัดเลือกจากการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ผลการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิตตามที่ผู้สมัครใช้ในการสมัครเข้ารับการคัดเลือก
  • ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต ซึ่งมีผลการศึกษาต่ำกว่า 3.25 คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการหลักสูตรอาจพิจารณารับเข้าศึกษาจากประสบการณ์และผลการปฏิบัติงาน โดยผู้สมัครต้องนำเสนอผลงานหรือผลการปฏิบัติงานซึ่งผู้บังคับบัญชาให้การรับรองตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษจากการสอบ GMAT โดยต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 450 หรือการสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษในระดับคะแนนเทียบเท่า TOEFL ไม่น้อยกว่า 500 หรือ TOEFL Computer ไม่น้อยกว่า 173 หรือ TOEIC ไม่น้อยกว่า 780 โดยเป็นผลสอบที่สอบไม่เกิน 4 ปีนับถึงวันสมัคร หรือภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาจีน หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • การสัมภาษณ์เชิงทฤษฎีและปฏิบัติด้านการบริหารธุรกิจ อาชีพ และหน้าที่การงานของผู้สมัคร
  • เรียงความ “เป้าประสงค์ชีวิต” ของผู้สมัคร
  • กรณีผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 3.คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการหลักสูตรอาจพิจารณารับเข้าศึกษา โดยมีเงื่อนไขให้สอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 3. ก่อนสำเร็จการศึกษา
  • นำเสนอแนวความคิดโครงดุษฎีนิพนธ์พร้อมกับการสัมภาษณ์
  • ศักยภาพและความพร้อมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต

ระบบการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาทวิภาค (15 สัปดาห์) หนึ่งปีการศึกษา  แบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาหนึ่ง ๆ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

  • ภาคเรียนที 1 เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม
  • ภาคเรียนที 2 เดือนกันยายน-เดือนธันวาคม
  • ภาคเรียนที 3 เดือนมกราคม-เดือนเมษายน

ระยะเวลาการศึกษา

ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทให้ใช้เวลาศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา การนับระยะเวลาการศึกษาให้รวมระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาเป็นระยะเวลาการศึกษา เว้นแต่เป็นการลาพักการศึกษาเนื่องจากถูกเกณฑ์ หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม หรือได้รับอนุมัติจากทางมหาวิทยาลัย